<<<   ก. ไอซีทีเปิดเว็บ e-Biz ให้ผู้ประกอบการไอซีทีไทยใช้ฟรี ส่งเสริมการแข่งขันในระดับสากล     ไอซีทีเตรียมเรียกคู่สัญญาสัมปทานมือถือถก16 ก.พ.     ลุ้น! ไอซีที สรุป 3 สัมปทานชง ครม. ภายในเดือนมกราคม 2554   ชาวอ่างทองยิ้ม! ศูนย์ไอซีทีชุมชนมาถึงแล้ว        
gid

gis-elearning

EBOOK


New Document



 



 
ดูผล Vote
 

+ข่าวประชาสัมพันธ์

 

Facebook เริ่มทดสอบเครื่องมือรายงานข่าวปลอม หวังกำจัดให้หมดไปจาก News Feed

 
ในขณะที่ Facecbook กำลังทดสอบปุ่ม Reaction บน Messenger ช่วงเวลาเดียวกัน Facebook ก็เริ่มทดสอบการใช้เครื่องมือใหม่สำหรับรายงานโพสต์ที่เป็น ข่าวปลอม หนึ่งในหนทางที่จะช่วยกำจัดข่าวลวง ข่าวปลอมให้หมดไปบน Facebook 

จากตัวเลขผู้ใช้ Facebook ที่มีเกือบ 2 พันล้านราย กลายเป็นเรื่องง่ายที่ไม่ว่าใครก็ตามที่มี Facebook สามารถสร้างข่าวลวงขึ้นมาได้ ซึ่งพลังของข่าวลวง ข่าวปลอมในปัจจุบันค่อนข้างมีผลกระทบต่อคนที่หลงเชื่อทั้งในด้านความรู้สึก ความคิด และบางครั้งมีผลต่อด้านเศรษฐกิจและการเมืองด้วย อย่างในกรณีที่เป็นประเด็นอันร้อนแรงเมื่อปลายปี 2016 กับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ที่มีรายงานว่าเกิดการปล่อยข่าวลวงขึ้นใน Facebook จนมีผลต่อคะแนนเสียงและทำให้ “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้หลายหน่วยงานออกมาเรียกร้อง Facebook ให้หามาตรการเพื่อกำจัดข่าวปลอมที่เกิดขึ้นโดยเร็ว 

ซึ่งล่าสุดเว็บไซต์ Gizmodo ได้รายงานการทดสอบเครื่องมือกำจัดข่าวปลอมบน News Feed ของ Facebook โดยเครื่องมือดังกล่าวถูกเรียกว่า “disputed” เป็นปุ่มที่เพิ่มเข้ามาตามโพสต์ต่างๆ บน News Feed ซึ่งหากผู้ใช้พบโพสต์ต้องสงสัยที่อาจเป็นข่าวปลอมสามารถกดปุ่ม disputed ที่โพสต์นั้น หลังจากนั้นระบบของ Facebook จะส่งข้อมูลไปยัง Snopes.com และ Politifact สององค์กรเข้ามาร่วมมือเพื่อให้บริการตรวจสอบข้อเท็จจริงของข้อมูล พร้อมมีป้ายกำกับไว้ใต้โพสต์นั้นด้วยว่ากำลังมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากสององค์กรดังกล่าว ภาพจากเว็บไซต์ Gizmodo 

โดยข่าวที่ถูกทดสอบเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ theseattletribune.com ที่มีการโพสต์เนื้อหาระบุว่า “อุปกรณ์ Android ที่ไม่มีความปลอดภัยของโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ กลายเป็นต้นเหตุของการรั่วไหลของข้อมูลในทำเนียบขาว” ซึ่งหลังจากที่มีการใช้ปุ่ม disputed ทางเว็บไซต์ Recode ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลด้วยว่าข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นข่าวปลอม พร้อมกับระบุด้วยว่านับตั้งแต่ใช้ disputed เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา Snopes ได้มีการส่งข้อมูลเพื่อยืนยันว่าเป็นข่าวปลอมในวันที่ 2 มีนาคม ขณะที่ Politifact ส่งยืนยันข่าวปลอมมาในวันที่ 3 มีนาคม 

ด้วยการทดสอบที่เกิดขึ้นแม้จะช่วยยืนยันข้อเท็จจริงของข้อมูลได้ แต่การส่งรายงานยืนยันยังใช้ระยะเวลานานพอสมควร เมื่อเทียบระยะเวลาการแพร่กระจายข้อมูลบนโลกโซเชียลที่นับว่าเร็วกว่ามาก อย่างไรก็ตามถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญของ Facebook ในความพยายามคิดค้นและอาศัยความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เพื่อกำจัดข่าวลวง ข่าวปลอมให้หมดไป ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกพอสมควรเพื่อพัฒนาเครื่องมือรายงานข่าวปลอมให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นต่อไป
ขอบคุณ ข้อมูล ภาพ และคลิปแหล่งที่มาจากเว็บไซด์  Aripfan
post : วันอังคาร  ที่ 7  มีนาคม  2560  เวลา  14:07:39 น.  by  www.CreditOnHand.com
 

วันที่ปรับปรุงข่าว : 2560-03-10 05:03:53

 


 
แสดงความคิดเห็น(จำเป็นต้องเป็นสมาชิก หรือ สมัครสมาชิกที่นี่ )
 
  รายละเอียด
   
 
  username
  password
   

 
 
bma-office

 

ที่ตั้งศาลาว่าการ กทม.1 - 2
ที่ตั้งโรงเรียนในสังกัด กทม.
เอกชน และ สพฐ.
แผนที่แสดงที่ตั้งพิพิธภัณฑ์เด็ก
และสวนสมเด็จในเขต กทม.
gallery
gallery
gallery
system
  ข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งด้าน Hardware,Software และข้อมูล GIS 
gallery





 
User Online ขณะนี้  2 คน
ผู้เยี่ยมชมวันนี้  4040คน
 ทั้งหมด  379812379812379812379812379812379812คน
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์กรุงเทพมหานคร (BMA GIS Center)
ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 173 ถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
....