ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ
Geographic Information Systems (GIS)
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic
Information System (GIS)
นั้นได้มีผู้ให้คำจำกัดความไว้หลากหลาย เช่น
1. TYDACT Technologies Inc. (1987) :
Geographic Information System are software packages
which can be use to create and analyze spatial
information with such systems, maps, air photos and
diagrams describing natural and man make features
can be translated into an electronic code which can
be recalled, modified and analyzed
2. หนังสือ Geographic Information Systems
An Introduction Second Edition : Geographical
information system (GIS) is now used generically for
any computer-based capability for geographical data.
A GIS computer-based capability for the manipulation
of geographical data. A GIS includes not only
hardware and software, but also the special devices
used to input maps and to create map products,
together with the communication systems needed to
link various elements
3. ข้อมูลจาก www.oepp.go.th : GIS
คือ
ระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์จัดการเกี่ยวกับข้อมูลและข่าวสาร
ตั้งแต่การรวบรวมข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล
ตลอดจนการเสนอผลลัพธ์ข้อมูลเชิงซ้อนทั้งหมด
ให้อยู่ในรูปที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ
ตามต้องการ
ทั้งนี้โดยอาศัยลักษณะทางภูมิศาสตร์สัมพันธ์ระหว่างข้อมูลข่าวสารต่างๆ
4. ข้อมูลจาก
www.khonkaen.go.th/gis/gis8.htm : GIS
หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์
เพื่อใช้ในการนำเข้าจัดเก็บจัดเตรียมดัดแปลงแก้ไข
จัดการและวิเคราะห์พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่
ตามวัตถุประสงค์ต่างๆที่ได้กำหนดไว้ดังนั้น GIS
จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ
และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของข้อมูล
และการผสานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น
ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ(secondary
data) เพื่อให้เป็นข่าวสารที่มีคุณค่า
5.ข้อมูลจาก rsgis.rs.psu.ac.th :
GIS คือ
ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่
และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย
ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์
และแสดงผลการวิเคราะห์ และการนำเสนอข้อมูล
เพื่อให้เห็นมิติและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล
ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา
และประกอบการตัดสินใจในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่

6.
ข้อมูลจาก
www.gmt.co.th : GIS ประกอบด้วยคำ 2 คำ
คือ "ระบบสารสนเทศ" (Information System) และคำว่า
"ทางภูมิศาสตร์" (Geographic Geographical)
ระบบสารสนเทศ เป็นการปฏิบัติการรวบรวม จัดเก็บ
และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน
สามารถสืบค้นข้อมูลที่ต้องการได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว
สามารถนำข้อมูลที่เป็นผลจากการวิเคราะห์ไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารในการปฎิบัติงานใด
ๆ
เปรียบเสมือนเครื่องมือที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้บริหาร
ภูมิศาสตร์ (Geographic) มาจากรากศัพท์ Geo
หมายถึงโลก และ Graphic หมายถึงงานเขียน
ดังนั้นการเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับโลกจะอยู่ในรูปแผนที่
ในอดีตการเก็บรวบรวมข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบกระดาษ
ดังนั้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
จึงเป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อใช้รวบรวม จัดเก็บ ค้นหา
แสดงผล และวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เป็นระบบที่จัดเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ให้อยู่ในรูปแผนที่เชิงเลข
(Digital Map)
7. ข้อมูลจาก
www.bhu.go.th : GIS
เป็นระบบข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่
และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานภาระหน้าที่
เพื่อให้สามารถนำข้อมูลเหล่านั้น มาวิเคราะห์
และนำผลของการวิเคราะห์มาใช้ประโยชน์ในงานนั้นๆได้
ตัวอย่างเช่น นักวางแผนด้านผังเมือง
อาศัยข้อมูลเชิงแผนที่ ข้อมูลด้านการพัฒนาที่ดิน
ข้อมูลด้านการวางผังเมือง มาวิเคราะห์ร่วมกัน
ให้ได้ผลการวิเคราะห์
ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการวางผังเมืองได้
หรือตัวอย่างเช่น นักระบาดวิทยา อาศัยข้อมูลเชิงแผนที่
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ ข้อมูลป่า แหล่งน้ำ
ข้อมูลการป่วยเจ็บ ข้อมูลความหนาแน่นของประชากร ฯลฯ
มาวิเคราะห์ร่วมกัน
ให้เกิดผลการวิเคราะห์โรคในแต่ละพื้นที่
สามารถทำนายการเกิดโรคได้ และ
ใช้เป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ
8. ข้อมูลจาก
www.stschool.ac.th. : GIS
เป็นระบบที่ใช้ Computer เก็บรวมรวมประมวลผล
และแจกจ่ายข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
และการควบคุมภายในองค์กรข่าวสาร (Information)
ข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลหรือปรุงแต่ง
เพื่อให้มีความหมายเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูล (Data)
ข้อเท็จจริงที่ได้รับการรวบรวมหรือป้อนเข้าสู่ระบบกระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ
ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ชนิด
(ต้องเก็บข้อมูลให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้น)
การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Process)
การนำเสนอผลลัพธ์ (Output) ระบบสารสนเทศบางระบบ
ต้องการตอบสนอง (Feedback)
ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล
แล้วถูกส่งกลับไปยังส่วนการนำเข้าข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง
สารสนเทศที่เป็น Output ของระบบหนึ่ง อาจเป็น Input
ของอีกระบบหนึ่งได้
ระบบสารสนเทศถือว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Organization)
องค์กรบางแห่งในปัจจุบันสามารถดำเนินธุรกิจได้ก็เพราะมีระบบสารสนเทศที่ดี
9.
สำนักงานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรของชุมชน
: GIS คือ
ระบบเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่และเชื่อมโยงและผสมผสานข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย
ที่เก็บไว้ในฐานข้อมูล สามารถดัดแปลงแก้ไขและวิเคราะห์
และแสดงผลการวิเคราะห์และการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เห็นนิมิตและความสัมพันธ์ด้านพื้นที่ของข้อมูล
ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจปัญหา
และประกอบการตัดสินใจในปัญหาเกี่ยวกับการวางแผนการใช้ทรัพยากรเชิงพื้นที่
10. Federal Interagency Coordinating
Committee (1988) : GIS เป็น
ระบบของคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์
และวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อการจัดเก็บ การรักษา
การจัดทำ การวิเคราะห์ การทำแบบจำลอง
และการแสดงข้อมูลเชิงพื้นที่
เพื่อนแก้ปัญหาการวางแผนที่ซับซ้อน
และปัญหาในการจัดการ
ทำไม ? ต้อง GIS
เพราะชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่
จะมีความเกี่ยวข้องกับภูมิศาสตร์ไม่มากก็น้อย
การตัดสินใจใดๆ
ก็ตามมักจะมีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านภูมิศาสตร์เสมอ GIS
สามารถช่วยในการจัดการและบริหารข้อมูลเชิงพื้นที่
พร้อมทั้งให้สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆในเชิงพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเป็นรากฐานที่ดีในการตัดสินใจอย่างฉลาด
ช่วยลดเวลาที่เสียไป นอกจากนี้ เทคโนโลยี GIS
ยังมีข้อได้เปรียบมากในเรื่องการปรับปรุงแก้ไขข้อมูลเชิงพื้นที่ให้มีความทันสมัยได้ง่ายกว่า
หรือความสามารถในการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทต่างๆ
และเก็บไว้ในชนิดเดียวกัน
ความสามารถในการปรับข้อมูลเชิงพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงและนำมาผลิตแผนที่
องค์ประกอบของ GIS
แบ่งออกได้เป็น 5 ระบบใหญ่ๆดังนี้
1.
ฮาร์ดแวร์ (Hardware) คือ
ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ
เช่น ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์,จอภาพ,สายไฟ เป็นต้น

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือ
โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการเช่น
MS-DOS,MS-WINDOWS, Word เป็นต้น
3. บุคลากร (Peopleware)คือ
ผู้มีหน้าที่จัดการให้องค์ประกอบทั้ง 4 อย่าง ข้างต้น
ทำงานประสานกันจนได้ผลลัพธ์ออกมา
4.วิธีการปฏิบัติงาน(Process)
คือขั้นตอนการทำงานซึ่งเราเป็นผู้กำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์จัดการกับข้อมูล
เช่นกรอกข้อมูลทุกวันและทราบผลลัพธ์ทันทีเป็นต้น
5. ข้อมูล (Data)
คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและเป็นผลลัพธ์ออกมาเช่นชื่อ-สกุล
ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นต้น |