+ข่าวประชาสัมพันธ์

 

เทรนด์ไมโครระบุ 80เปอร์เซ็นต์ ของแอพฟรีมีเวอร์ชั่นปลอมแฝง

 

    เสี่ยงต่อการโจรกรรมข้อมูล การแพร่กระจายของไวรัสบนอุปกรณ์พกพา และความเสียหายทางธุรกรรมการเงิน แนะใช้ Dr. Safety ฟรีโมบายแอพฯ ช่วยค้นหาแอพฯ ปลอม 

    จากผลสำรวจของเทรนด์ไมโครเกี่ยวกับแอพฯฟรีจาก50 อันดับสูงสุดใน Google Play พบว่า เกือบ 80% มีแอพฯ เวอร์ชั่นปลอมที่พัฒนาโดยบริษัทอื่นและที่สำคัญกว่านั้นก็คือ 100% ของแอพฯ ในหมวดหมู่วิดเจ็ต, สื่อและวิดีโอและการเงิน มีเวอร์ชั่นปลอม เพื่อปกป้องอุปกรณ์พกพาให้รอดพ้นจากภัยคุกคามเหล่านี้ เทรนด์ไมโครจึงแนะนำให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอพฯจากแหล่งที่เชื่อถือได้และใช้แอพฯรักษาความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น TrendMicro Dr. Safety เพื่อปกป้องอุปกรณ์พกพา 

    ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนเมษายนนี้มีแอพฯปลอมจำนวน 59,185 รายการ จากทั้งหมด 890,482 รายการพบว่าเป็นแอดแวร์ที่รุนแรง ส่วนอีก 394,263 รายการเป็นมัลแวร์และในบรรดาแอพฯปลอมทั้งหมด 50% เป็นโปรแกรมอันตราย ขณะเดียวกัน มีแอพฯปลอมสองประเภทหลักๆ ประเภทแรกคือ “แอพฯลวง” โดยที่พบเห็นได้มากที่สุดก็คือแอพฯป้องกันไวรัส เช่น Virus Shield ที่อ้างว่าจัดหาการสแกนแบบเรียลไทม์และการปกป้องข้อมูลส่วนตัว ในราคาเพียง 3.99 ดอลลาร์บน Google Play แอพฯนี้ได้รับการจัดอันดับมากถึง4.7 ดาว หลังจากที่ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 10,000ครั้งภายในสัปดาห์เดียวหลังจากเปิดตัวแต่ท้ายที่สุดมีการตรวจพบว่าแอพฯนี้เป็นแอพฯปลอมและไม่ได้ช่วยปกป้องอะไรเลยแม้แต่น้อย นักวิจัยชี้ว่าการดาวน์โหลดส่วนใหญ่ดำเนินการโดยคอมพิวเตอร์บ็อตเน็ต อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้หลายพันรายถูกหลอกลวงจนเกิดความเสียหายทางการเงิน ก่อนที่ GooglePlay จะถอนแอพฯนี้ออกไป 

    แอพฯปลอมอีกประเภทหนึ่งคือ“แอพฯรีแพ็คเกจ” ซึ่งเป็นการรีแพ็คเกจแอพฯยอดนิยมและระบุว่าเป็นแอพฯต้นฉบับเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้ดาวน์โหลด นอกจากนี้ แอพฯรีแพ็คเกจบางแอพฯเป็น “แอพฯโทรจัน”ซึ่งประกอบด้วยลักษณะการทำงานที่เป็นอันตรายและกลายเป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ ทั้งนี้ เกม แอพฯการเงิน และแอพฯรับส่งข้อความมักจะตกเป็นเป้าหมายของแอพฯรีแพ็คเกจ 

    แอพฯ เกมยอดนิยม Flappy Bird เป็นหนึ่งในแอพฯเกมที่ฮอตฮิตที่สุดในช่วงไตรมาสแรกของปี2557 มีการดาวน์โหลดกว่า 50 ล้านครั้งก่อนที่ผู้พัฒนาจะเพิกถอนแอพฯนี้ออกไปอย่างฉับพลันการเพิกถอนดังกล่าวส่งผลให้เกิดความสนใจอย่างกว้างขวางในระบบออนไลน์และกระตุ้นให้อาชญากรไซเบอร์สร้างเวอร์ชั่นโทรจันสำหรับแอพฯนี้ขึ้นมาหนึ่งในเวอร์ชั่นโทรจันขอให้ผู้ใช้อนุญาตให้มีการส่งข้อความซึ่งอาจทำให้บิลค่าโทรศัพท์ของผู้ใช้พุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ 

    แอพฯ พลิเคชั่นทางการเงิน แ แอพฯโทรจันสำหรับบริการทางการเงิน มักจะแทนที่แอพฯ ธนาคารที่มีชื่อเสียงติดตั้งจาก GooglePlay ด้วยเวอร์ชั่นโทรจันที่เกี่ยวข้องซึ่งช่วยให้อาชญากรสามารถเริ่มการโจมตีแบบฟิชชิ่งต่อผู้ใช้ด้วยการขโมยข้อมูลทางการเงินของเหยื่อและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ 

    แอพฯ รับส่งข้อความ กรณีที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดสำหรับการส่งข้อความInstant-Messaging ของแอพฯโทรจัน ก็คือ เวอร์ชั่นปลอมของ BlackBerry®Messenger (BBM) ก่อนที่ BlackBerry จะนำแอพฯนี้ออกเผยแพร่บน Google Play มีการปล่อยเวอร์ชั่นโทรจันของ BBMให้แก่ผู้ใช้ทั่วไป โดยอาศัยการที่ผู้ใช้คาดการณ์ว่า จะมีการเปิดตัว BBMfor Android แอพฯ รีแพ็คเกจนี้ถูกดาวน์โหลดมากกว่า 100,000ครั้ง อย่างไรก็ตาม แอพฯ ดังกล่าวได้แสดงพฤติกรรมของแอดแวร์ที่รุกล้ำอย่างมากและต่อมา Google Play ได้ถอนแอพฯ นี้ออกไป 

    เทอเรนซ์ ตังผู้อำนวยการอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของเทรนด์ไมโคร กล่าวว่า แอพฯ ปลอมจำนวนมากประกอบด้วยมัลแวร์ อาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลและก่อให้เกิดความเสียหายทางการเงิน ขอแนะนำให้ดาวน์โหลดแอพฯจากแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือ และติดตั้งแอพฯ รักษาความปลอดภัยที่มีชื่อเสียงเพื่อปกป้องอุปกรณ์พกพา 

    เทรนด์ไมโครนำเสนอแอพฯรักษาความปลอดภัยฟรีบนอุปกรณ์พกพา Dr. Safety ซึ่งรองรับการปกป้องและการสแกนแบบอัตโนมัติช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดแอพฯ ที่มีความเสี่ยง สามารถดาวน์โหลด Dr. Safety ได้จาก Google Play 



    ขอบคุณ แหล่งที่มาหนังสือพิมพ์  เดลินิวส์

    post : วันจันทร์  ที่ 25  สิงหาคม  2557  เวลา  10:18:52 น.  by  www.CreditOnHand.com 
 

วันที่ปรับปรุงข่าว : 2557-08-25 13:08:35