ขอรายละเอียดการพัฒนากรุงเทพมหานครมหานครตามผังเมือง
chai
31-01-2550
เวลา 14:10:56


พิมพ์
ขอรายละเอียดการพัฒนากรุงเทพมหานครมหานครตามผังเมือง

>> คลิกที่นี่ เพื่อแสดงความคิดเห็น

 ความคิดเห็นที่ 1

IT
00-00-543
เวลา 02:16:12


สรุปแนวทางการดำเนินการได้ดังนี้<br>
1. ศึกษา จุดอ่อน จุดแข็ง ปัญหาและอุปสรรค ของการพัฒนากรุงเทพมหานครตาม<br>
ผังเมืองรวมโดยใช้ SWOT Analysis เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ในการดำเนินการให้บรรลุ<br>
วัตถุประสงค์ของการพัฒนากรุงเทพมหานคร<br>
2. ศึกษาระบบฐานข้อมูลโดยเป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาวิเคราะห์หาค่า<br>
ตัวชี้วัด (KPI) ใช้เป็นเกณฑ์กำหนดค่าเป้าหมาย รวมถึงค้นหาค่าผลงานที่มีอยู่จริงในปัจจุบัน นำมา<br>
เปรียบเทียบ และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจที่จะบริหาร<br>
กรุงเทพมหานครอย่างมีทิศทางเหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุดประกอบด้วยค่า<br>
เป้าหมาย (KPI) และค่าผลงาน จำนวน 6 ด้าน คือ จราจร สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย คุณภาพชีวิต<br>
เศรษฐกิจ โดยรวมการศึกษา และสถาปัตยกรรมภูมิทัศน์ไว้ในเป้าหมายเดียวกัน<br>
3. การจัดลำดับความสำคัญตามค่าตัวชี้วัด (KPI) จากด้านที่เกี่ยวข้องแบ่งเป็น 3<br>
ระดับ ตามการแบ่งการพัฒนาพื้นที่และการใช้ที่ดินของผังเมืองรวม<br>
3.1 จัดลำ ดับความสำ คัญของตัวชี้วัด (KPI)ตามภาพรวมของ<br>
กรุงเทพมหานคร ซึ่งผังเมืองได้ระบุการพัฒนาไว้ตามกลุ่มเขต (Zone) 6 กลุ่ม ประกอบด้วย เขต<br>
เศรษฐกิจเมือง เขตที่อยู่อาศัย เขตอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม เขตอุทยานนคร เขตชุมชนใหม่ และ<br>
เขตสภาพแวดล้อม<br>
3.2 จัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัด (KPI) ในระดับกลุ่มเขต 12 กลุ่ม<br>
เขต ประกอบด้วย กลุ่มรัตนโกสินทร์ กลุ่มลุมพินี กลุ่มวิภาวดี กลุ่มเจ้าพระยา กลุ่มกรุงธนบุรี กลุ่ม<br>
Content ตากสิน กลุ่มพระนครเหนือ กลุ่มบูรพา กลุ่มสุวินทวงศ์ กลุ่มศรีนครินทร์ กลุ่มมหาสวัสดิ์ และ กลุ่ม<br>
สนามชัย<br>
3.3 จัดลำดับความสำคัญในระดับสำนักและสำนักงานเขตทั้ง 50 เขต<br>
โดยทดลองเปรียบเทียบการพัฒนาเขตบึงกุ่มกับเขตบางรัก ที่อยู่เขตละกลุ่มโซน จะเห็นความ<br>
แตกต่างของด้านที่จะพัฒนาอย่างชัดเจน การจัดลำดับความสำคัญในการพัฒนากรุงเทพมหานคร<br>
โดยคำนึงถึงนโยบายของผู้บริหารและนโยบายของผังเมืองจะสามารถนำมาใช้กำหนดแผนและ<br>
ประกอบการตัดสินใจด้านการจัดการด้านงบประมาณที่จะนำไปใช้พัฒนากรุงเทพมหานครทั้งใน<br>
ฐานะผู้บริหารด้านการเมืองและผู้บริหารราชการในระดับต่าง ๆ อย่างไรก็ตามเนื่องจากข้อมูลสถิติ<br>
และระยะเวลาอันจำกัดคณะผู้จัดทำได้พิจารณาจัดลำดับความสำคัญไว้เพียงเป็นแนวทางเพื่อพัฒนา<br>
ในลำดับต่อไป<br>
4. ศึกษาระบบฐานข้อมูลในด้าน GIS และ IT ของกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับ<br>
หน่วยงานอื่นหรือต่างประเทศและจากการสืบค้นของเว็บไซด์ต่าง ๆ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อใช้<br>
ประกอบการกำหนดหรือหาค่าตัวชี้วัด (KPI) ที่เป็นมาตรฐานสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างแม่นยำ<br>
มากขึ้นรวมถึงสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการวางแผนของประชาชนทั่วไป ในชีวิตประจำวัน<br>
หรือในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง<br>
5. ศึกษาในภาพรวมของกรุงเทพมหานครเปรียบเทียบกับการศึกษาดูงานในต่างประเทศ<br>
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม<br>
เชิญกรอกข้อความเพื่อตอบคำถาม หรือ แสดงความคิดเห็น 


แสดงความคิดเห็น
(จำเป็นต้องเป็นสมาชิก หรือ สมัครสมาชิกที่นี่ )

 ความคิดเห็น:

  username
  password ( สำหรับเจ้าหน้าที่ตอบจะขึ้น * โดย Webmaster )